โครงสร้างภาษาซี

กำเนิดภาษา C 
      ด้วยศักยภาพและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ที่แพรหลาย จึงทำให้มีผู้คิดค้นพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซีขึ้น คือ นายเดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) ที่ศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratories) ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1972 และเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ ซึ่งใช้กันแพร่หลายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน      ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) จึงทำให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถที่จะกำหนดรายละเอียดของโปรแกรมให้เข้าถึงการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดความเร็วในการทำงานสูงสุด และในขณะเดียวกันภาษาซีก็ยังมีความเป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language) ทำให้ผู้พัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้ โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้องการได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ใด ๆ      ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นาย Bjarne Stroustrup นักวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยเบล (Bell Laboratiories) ได้พัฒนาภาษา C++ (ซีพลัสพลัส) ขึ้นมา โดยที่ภาษา C++ มีความสามารถในการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนกับภาษาซี ซึ่งมีรูปแบบและโครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกัน แต่ภาษา C++ ใช้หลักการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Design) ในขณะที่ภาษาซีใช้หลักการออกแบบโปรแกรมแบบโมดูลาร์ (Modular Design)
โครงสร้างภาษา C      โปรแกรมภาษาซีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม และไฟล์โปรแกรม ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรมเป็นไฟล์ที่ใช้เก็บไลบราลีเพื่อใช้รวม (include) ในการคอมไพล์โปรแกรมซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น *.h มีชื่อเรียกว่า Compiler Directive ไฟล์โปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main() และตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด ( { ) เพื่อเริ่มต้นเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเสมอ และเมื่อจบประโยคคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคล่อน ( ; ) ในการคั่นแต่ละคำสั่ง ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ขันและส่วนของคำอธิบาย เมื่อเขียนคำสั่งเสร็จจะปิดท้ายโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด ( } ) เสมอ
แสดงโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
           #include<stdio.h>                    /* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/
          void main( )                            /*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/
          {                                             /*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/
             variable declaration ;          /*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/
             program statement ;           /*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/
          }                                             /*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/

ตัวอย่างโปรแกรมภาษาซี
        #include<stdio.h>                    /* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/
         void main( )                            /*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/
         {                                              /*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/
            char ch1 ;                            /*ประกาศตัวแปร ch1 มีชนิดข้อมูลเป็นตัวอักขระ 1 ตัว*/
            ch1 = 'A' ;                            /* กำหนดค่าให้กับตัวแปร ch1 คือ A */
            printf("%c",ch1);                  /*พิมพ์ตัวอักขระของ ch1 */
         }                                             /*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/
ผลลัพธ์
        A



ตัวแปร (variable)  
     คือชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
     1. ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลข ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
     2. ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นขีดล่าง _ (Underscore)
     3. ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
     4. ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร
     5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซี

การประกาศตัวแปร
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งาน ในภาษาซีจะต้องมีการประกาศค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้โดยมีรูปแบบดังนี้
     รูปแบบ                      Type varible name
       type                          ชนิดของตัวแปร ซึ่งอาจจะป็น char, int, float, double หรือตัวแปรชนิดอื่นๆ
       variable name          ชื่อของตัวแปร ถ้ามีมากกว่า 1 ตัวให้ใช้เครื่องหมายคอมม่าคั่น

ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
char n;                 ประกาศค่าตัวแปรชื่อ n เป็นข้อมูลชนิด character
float a,b,c;           ประกาศค่าตัวแปรชื่อ a,b,c เป็นข้อมูลชนิด float
int number=1;      ประกาศค่าตัวแปรชื่อ number เป็นข้อมูลชนิด integer และกำหนดให้มีค่าเท่ากับ 1
char name[15];    ประกาศตัวแปรชื่อ name เป็นลักษณะตัวแปรชุดเก็บชื่อยาวไม่เกิน 15 ตัวอักษร

คำสงวนในภาษา C
autobreakcasecharconst
defaultdodoubleelseenum
shortsignedsizeofexternfloat
forgotoifintlong
returnregistercontinuewhilestatic
structswitchtypedefunonunsigned
voidvolatile


24 ความคิดเห็น:

  1. น.ส.วรรณวิสา จันคำ

    ตอบลบ
  2. น.ส. วณัฐชา ชัยปัญหา

    ตอบลบ
  3. นายตะวัน วรรณปะเข

    ตอบลบ
  4. น.ส.กุลสตรี สกุลกลาง

    ตอบลบ
  5. ศักดิ์สิทธิ์ ปักกาสิเนย์

    ตอบลบ
  6. นุชรินทร์ . โพธิ์ศรี

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. กฤษณะ หนูสุวรรณ์
    ม.4/1 เลขที่ 22

    ตอบลบ
  9. ยุภาวดี ศรีพวงเพชร
    ม.4/1 เลขที่18

    ตอบลบ
  10. เรณูมาศ จันทร์งาม เลขที่19 ม.4/1

    ตอบลบ
  11. น.ส.มนัญญา ชาหลาบคำ ม.4/1 เลขที่17

    ตอบลบ
  12. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  13. น.ส. เบญจลักษณ์ มารศรี

    ตอบลบ
  14. น.ส. มุกรินทร์ หยวกวิ่ง ชั้นม.4/1 เลขที่30

    ตอบลบ
  15. นางสาวสายสมร สีเสน

    ตอบลบ
  16. นาย สุธิวัฒน์ ศรีวรรณภูมิ ม.4/1เลขที21

    ตอบลบ
  17. น.ส. ฉวีวรรณ บุญเหลา เลขที่ 28

    ตอบลบ
  18. น.ส.กัญญารัตน์ ยอดทองหลาง เลขที่ 27

    ตอบลบ